:::::::::::::: กระจกรถยนต์ สิ่งสำคัณที่คุณอาจมองข้าม :::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

(1/2) > >>

ji jirawat:
รู้ไว้อุ่นใจ
สังเกตไว้ก่อน รู้ไว้อุ่นใจ ไปไหนสบายใจมั่นใจว่าปลอดภัยหายห่วง

กระจกรถของเรานั้นบานไหน เป็นกระจกแบบไหน เรามีวิธีดูมาฝากกัน
ถ้าเป็น เทมเปอร์ คือกระจกชั้นเดียวแตกแล้วกระจายเป็นเม็ดข้าวโพด / ลามิเนต คือกระจก2ชั้นแตกแล้วร้าวเฉยๆ ไม่ร่วงมาใส่เรา

โดยส่วนมากแล้วกระจกบานหน้าจะเป็น กระจกนิรภัย ลามิเนต 2ชั้น เพื่อ safety ผู้โดยสารเมื่อเกิดอุบัติเหตุ กระจกจะไม่ร่วงมาใส่ผู้โดยสาร

แล้วกระจกบานข้างและบานหลัง จะเป็น กระจกเทปเปอร์ชั้นเดียว

ลองไปดูที่รถของคุณดูครับ มีบอกไว้มุมซ้ายล่าง ของกระจกรถคุณนะครับ

ji jirawat:
ประเภทของกระรถยนต์


กระจกรถยนต์เทมเปอร์ (Tempered Glass)

กรรมวิธีการผลิตกระจกเทมเปอร์ที่ได้มาจากการแปรรูปกระจกเรียบ มีด้วยกัน 2 วิธี คือ การใช้กรรมวิธี ทางความร้อน (Heat Treatment ) และกรรมวิธีการใช้สารเคมี (Chemical Strengthening Process) โดยกรรมวิธีทั้ง 2 มีหลักการที่เหมือนกันคือ สร้างสภาวะ เค้นอัด (Compression) บริเวณผิวกระจกและสภาวะเค้นดึง (Tension) ด้านในเนื้อกระจก เพราะปกติแล้วแก้วหรือกระจกจะแตกด้วยแรงเค้นดึง (Tensile Stress) มากกว่าแรงเค้นอัด นอกจากนี้สภาวะความเค้นที่ต่างกัน ระหว่างบริเวณผิวกระจกและบริเวณด้านในเนื้อกระจกส่งผลให้ขนาดของชิ้นกระจกที่แตกมีขนาดเล็ก



กระจกรถยนต์โซนเทมเปอร์ (Zone Tempered)
เป็นกระจกพิเศษที่ผ่านขบวนการเทมเปอร์แบบพิเศษโดยปรับให้เมื่อเกิดการแตกของกระจก บริเวณตรงด้านหน้าคนขับชิ้นกระจกที่แตกจะมีขนาดชิ้นใหญ่ กว่าการแตกของกระจกเทมเปอร์แบบธรรมดา ข้อดีคือ ทำให้ผู้ขับขี่สามารถมองผ่านไปได้ ส่วนบริเวณอื่น ขนาดชิ้นกระจกจะมีขนาดเล็ก

กระจกรถยนต์ลามิเนต (Laminated Glass)
กรรมวิธีการผลิตกระจกลามิเนต คือ การนำเอากระจกเรียบแบบธรรมดา หรือ กระจกเทมเปอร์ ตั้งแต่ 2 แผ่นขึ้นไปมาประกบติดกันโดยมีแผ่นฟิล์มพอลิเมอร์ ชนิดไพล์ไวนิลบิวทิรอล (Polyvinylbutyral PVB) ที่มีคุณสมบัติ การยึดเกาะสูงและนำไปผ่านขบวนการทางความร้อน ทำให้แผ่นฟิล์มพอลิเมอร์มีลักษณะใส เมื่อกระจกแตกชิ้นกระจกจะไม่แตกกระจายและรอยแตกจะมีขนาดเล็กสามารถมองผ่านได้

กระจกนิรภัยสำหรับรถยนต์ เทมเปอร์ (Temper Glass)

คุณสมบัติ
ค่าความแข็งแรงต่อแรงดึงและแรงที่ทำให้หักงอ (Bending Strength) เมื่อเปรียบเทียบกระจกธรรมดากับกระจกนิรภัยสำหรับรถยนต์ เทมเปอร์ ที่มีความหนา 5 มิลลิเมตร กระจกธรรมดามีค่าความแข็งแรงต่อแรงดึงและแรงที่ทำให้หักงอ 500-650 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ในขณะที่กระจกนิรภัยเทมเปอร์มีค่าสูงถึง 1500 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร

การต้านทานน้ำหนัก (Loading Resistant) คือความคงทนต่อแรงดันและแรงกระแทกโดยแบ่งออกเป็น
การต้านทานน้ำหนักคงที่หรือสถิต (Static Load Resistance) คือ แรงที่มากระทบกับกระจก ซึ่งเกิดจากลม ร่างกายมนุษย์ หรือแรงดันของน้ำ เป็นต้น กระจกนิรภัยสำหรับรถยนต์ เทมเปอร์ สามารถทนต่อแรงกระทบเหล่านี้ได้มากกว่ากระจกธรรมดาที่มีความหนาเดียวกันประมาณ 3-5 เท่า
การต้านทานน้ำหนักกระแทก (Impact Load Resistance) คือ กระจกนิรภัยเทมเปอร์สามารถรับแรงกระแทกได้ดีกว่ากระจกธรรมดาประมาณ 4 เท่า

ความปลอดภัย คือ การลดอันตรายที่เกิดจากการโดนกระจกบาด เพราะการแตกของกระจกนิรภัยเทมเปอร์จะแตกออกเป็นเม็ดเล็กๆ และมีคมน้อย

การต้านทานความร้อน (Heat Resistance) คือ ความทนทานของกระจกต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิแบบทันทีทันใด ซึ่งเรียกว่าผลกระทบจากอุณหภูมิ (Thermal impact )จากการทดสอบความสารถในการต้านทานความร้อนของกระจกนิรภัยเทมเปอร์เปรียบเทียบกับกระจกธรรมดาทีมีความหนา 5 มิลลิเมตรเท่ากัน มีผลการทดสอบดังต่อไปนี้
กระจกนิรภัยเทมเปอร์สามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิได้ที่ค่าความแตกต่างของอุณหภูมิสูงถึงประมาณ 170 ๐C หากค่าความแตกต่างของอุณหภูมิเพิ่มขึ้นสูงกว่านี้ กระจกนิรภัยสำหรับรถยนต์ เทมเปอร์ จะเริ่มแตกร้าว และจะแตกทั้งหมด เมื่อค่าความแตกต่างของอุณหภูมิสูงขึ้นจนถึงประมาณ 220 ๐C
กระจกธรรมดาสามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิได้ที่ค่าความแตกต่างของอุณหภูมิสูงเพียงประมาณ 60 ๐C จะแตกทั้งหมดเมื่อค่าความแตกต่างของอุณหภูมิสูงขึ้นจนถึงประมาณ 100 ๐C
ข้อควรพิจารณาในการใช้งาน
จุดอ่อนของกระจกนิรภัยสำหรับรถยนต์ เทมเปอร์ คือ แรงที่กระทำเป็นจุด (Point Load) หากมีการกระแทกโดยวัตถุที่มีมุมแหลม ซึ่งทำให้เกิดการตัดลึกเข้าไปภายในผิวกระจก ทำให้ชั้นแรงอัด (Compressed Layer) ถูกทำลายความสมดุลของแรงภายในเนื้อกระจกก็จะถูกทำลายลง อาจเป็นสาเหตุทำให้กระจกแตกได้

ผิวกระจกนิรภัยสำหรับรถยนต์ เทมเปอร์ จะเป็นคลื่น (Wave page) มากกว่ากระจกธรรมดา

กระจกนิรภัยหลายชั้นสำหรับรถยนต์ (Laminated Glass)

กระจกนิรภัยหลายชั้นสำหรับรถยนต์ เป็นกระจกที่ผลิตขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ เพื่อให้ความปลอดภัยแก่ผู้ใช้รถยนต์ โดยการนำกระจกนิรภัยตั้งแต่ 2 แผ่นขึ้นไปมาผนึกเข้าด้วยกัน โดยมีแผ่นฟิล์มโพลีไวนิล บิวทิเรต (Polyvinyl Butyrate) ที่เหนียวและแข็งแรงซ้อนอยู่ระหว่างกลางทำหน้าที่ยึดกระจกให้ติดกัน เมื่อกระจกชนิดนี้ถูกกระแทกจนแตก แผ่นฟิล์มโพลีไวนิล บิวทิเรตจะช่วยยึดไม่ให้เศษกระจกหลุดกระจาย จะมีเพียงร้อยแตกหรือร้าวคล้ายใยแมงมุมเท่านั้น กระจกนิรภัยหลายชั้นเป็นกระจกที่ให้ความปลอดภัยสูง นิยมใช้เป็นกระจกบังลมของรถยนต์

คุณสมบัติ
การใช้กระจกนิรภัยหลายชั้น ช่วยลดการบาดเจ็บจากกระจกบาดได้
ป้องกันการทะลุทะลวง เนื่องจากการแตกและการบุกรุกได้
ช่วยลดเสียยงรบกวน ลดการก้องของเสียงได้ดี เนื่องจากค่าความยืดหยุดของแผ่นฟิล์มโพลีไวนิล บิวทิเรต ในกระจกนิรภัยหลายชั้น
ช่วยในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศรถยนต์ โดยลดความร้อนของแสงแดดที่ผ่านเข้ามาในรถยนต์
แผ่นฟิล์มในกระจกนิรภัยหลายชั้นช่วยในการลดรังสีอุลตร้าไวโอเลต

ji jirawat:
กาวติดกระจกรถยนต์....ความจริงที่ไม่ควรมองข้าม
รู้เท่าทันกับการเปลี่ยนกระจกรถยนต์
เมื่อถึงคราวจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนกระจกรถยนต์ เจ้าของรถส่วนใหญ่เจาะจงเลือกกระจกรถยนต์ที่เป็นของแท้ และความเชี่ยวชาญของศูนย์บริการติดตั้งกระจกรถยนต์ แต่เชื่อหรือไม่ ในการติดตั้ง โอกาสเกิดความผิดพลาดสูงถึง 80% โดยไม่มีเครื่องมือใดๆ ที่สามารถนำมาใช้ตรวจสอบคุณภาพการติดตั้งได้ สาเหตุหลักของความผิดพลาดมาจากการใช้กาวติดกระจกที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่นับรวมถึงอันตรายจากอุบัติเหตุในขณะขับขี่ หากกาวยังไม่แห้งตัวดี หรือเสื่อมสภาพ สำหรับรถที่มีระบบถุงลมนิรภัย เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ถุงลมนิรภัยจะทำงาน และป้องกันตัวผู้ขับขี่และผู้โดยสารไม่ให้กระเด็นหลุดออกจากเข็มขัดนิรภัย โดยมีกระจกหน้ารถรับแรงปะทะของถุงลม แต่หากกระจกหน้ารถหลุดออกจากตัวรถ การทำงานของถุงลมนิรภัยจะไร้ผล ผลร้ายที่ตามคือความสูญเสีย

กาวติดกระจกรถยนต์....ความจริงที่ไม่ควรมองข้าม
กาวติดกระจกรถยนต์มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่า คุณภาพกระจกรถยนต์และความชำนาญของช่างติดตั้ง คุณสมบัติสำคัญของกาวคือ ยึดกระจกกับตัวรถ ด้วยส่วนประกอบทางเคมีที่แตกต่าง รวมถึงสภาพแวดล้อมการติดตั้ง ส่งผลให้กาวติดกระจกรถยนต์แต่ละยี่ห้อ มีระยะเวลาแห้งตัวไม่เท่ากัน กาวที่ใช้กันแพร่หลายในร้านติดตั้งกระจกรถยนต์ทั่วไป มีระยะเวลาแห้งตัวนานถึง 16 ชั่วโมง ดังนั้น หากนำรถไปใช้ในก่อนกาวแห้งตัวสมบูรณ์ และ เกิดอุบัติเหตุโอกาสที่กระจกหน้ารถจะหลุดออกจากตัวรถจึงมีสูง

กาวติดกระจกทั่วไปจะมีสารละลายเป็นส่วนประกอบ สารละลายบางชนิดมีกลิ่นฉุนมากจนอาจเกิดผลกระทบต่อสุขภาพ บางชนิดมีฤทธิ์กัดกร่อน เมื่อทำปฏิกิริยากับความชื้น จะกลายเป็นสาเหตุของการเกิดสนิมบริเวณขอบจอกระจกตัวถังรถยนต์ สารละลายบางชนิดเป็นสื่อนำไฟฟ้า เมื่อใช้ในการติดตั้งกระจกที่มีระบบเสาอากาศที่ฝังอยู่ในกระจก จะทำให้ประสิทธิภาพการรับสัญญาณ เช่น สัญญาณโทรศัพท์ วิทยุ GPS หรือ สัญญาณดาวเทียมไม่ดีพอ

สล่าน้อย:
ได้ความรู้อีกแล้ว ขอบคุณครับ

ji jirawat:
อ้างจาก: สล่าน้อย ที่ วันที่ 22 เมษายน  2012, 10:50:58

ได้ความรู้อีกแล้ว ขอบคุณครับ

ครับผม

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป